Don't Grow Up
อัพเดทล่าสุด: 19 ม.ค. 2025
1 ผู้เข้าชม
ปีเตอร์ แพน บอกเวนดี้ว่า "Don't grow up, it's a trap."
ผมมีเรื่องคิดมากมาย อยากคุยกับแพน การเติบโตเพื่อตัวเอง การเติบโตเพื่อผู้อื่น หรือไม่ควรเติบโต
เริ่มต้นปีใหม่นี้ ทีมวางระบบมีงานต้องดูแลกิจการที่โต 10x อีกครั้ง เป็นงานฉุกละหุกพอสมควร เพราะปริมาณงานเพิ่มขึ้นรวดเร็ว จนคนที่รับผิดชอบต้องทำให้ทันเพื่อเอาตัวรอดโดยไม่มีเวลาคิดถึงเรื่องอื่น
เรื่องนี้ผมมองแยกเป็นสองส่วน ตัวผู้ประกอบการเองที่เติบโต กับทีมวางระบบที่เป็นเหมือนผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ความพิเศษอยู่ระยะเวลาเตรียมตัวรับมือที่กระชั้นกว่าเคย ต้องเร่งทำงานด้วยอัตราเร็วมากกว่าปกติด้วย
เติบโตเร็วเป็นสถานการณ์พิเศษ ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกที่ การวางระบบเพื่อรองรับกิจการที่เติบโตเร็ว หมายถึงต้องเผื่อคาดเดาอนาคตมากกว่าปกติ ประเมินสรรพกำลังเพื่อเตรียมรับมือกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น
หากจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ร้านอาหารที่เริ่มต้นมีลูกค้าเฉลี่ยวันละ 100 ราย จู่ ๆ เดือนถัดมาเป็น 200 ราย และเดือนถัดมา 400 ราย มีเรื่องที่ต้องคิดคำนวณถึงเดือนข้างหน้าหรือสองเดือนหน้าอีกมากมาย ทั้งเจ้าของร้าน ผู้จัดการร้าน ทีมครัว ทีมบริการ คงไม่ใช่บอกให้ทุกคนสู้ ๆ เหนื่อยหน่อยนะ หาคนเพิ่มแล้วทำเหมือนตอนมีลูกค้า 100 รายโดยไม่เปลี่ยนวิธีรับมือ
เพราะเติบโตจึงต้องเปลี่ยนแปลง ระหว่างทางที่เปลี่ยนแปลงเต็มไปด้วยกับดัก
ด้วยประสบการณ์ที่ไม่เท่ากัน คนแต่ละคนย่อมมีจินตนาการยาวไกลไม่เท่ากัน แม้กระทั่งเมื่อทำให้เห็นเป้าหมายที่จุดนัดพบเดียวกันได้ วิธีการไปสู่เป้าหมายของแต่ละคนก็ยังต่างกัน วิธีวางระบบเพื่อเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นระบบในภาวะเติบโตจึงยาก ยากกว่าการเซ็ตระบบให้กับธุรกิจที่ค่อย ๆ เติบโต มีเวลาขยับปรับเปลี่ยนจนเข้าที่เข้าทาง
ความเร็วของการเดินทัพวัดกันที่คนสุดท้าย ถ้าระบบรองรับการเติบโตเร็วไม่ทัน ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรในมุมมองของผู้ประกอบการเราพอนึกภาพความวุ่นวายออก แต่ยังมีอีกมุมมองที่ไม่อาจละเลย คือการเตรียมทีมวางระบบเพื่อสถานการณ์พิเศษนี้
หากปัจจัยความสำเร็จทั้งหมดเป็นสิบส่วน สามส่วนอยู่ที่ความสามารถของโปรแกรมที่ใช้ อีกเจ็ดส่วนอยู่ที่กลยุทธของผู้วางระบบ ที่ต้องพยายามเท่าทันผู้บริหาร เพราะการเปลี่ยนผ่านจากกิจการเล็กให้เติบโตอย่างแข็งแรงเป็นการวางรากฐานระยะยาว ต้องเข้าใจวิธีคิดอย่างผู้บริหาร รู้หลักการบริหาร แล้ววางแผนแต่ละก้าวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความเข้าใจในภาพใหญ่ ผสานการใช้ข้อมูลประเมินผลตลอดเวลา
ที่ผ่านมาผมมีบทเรียนที่อาจจะเรียกว่าล้มเหลวในการวางระบบอยู่สองแบบ จบลงด้วยความเหนื่อยที่ลงแรงแล้วไม่ได้มรรคผลอะไรอย่างที่คาดหวัง เรียกว่า ทำมากแต่ได้น้อย
กับผู้ประกอบการบางแห่งที่น่าจะเติบโตได้มากกว่านี้ ทีมวางระบบพยายามออกแบบขั้นตอนการทำงานที่รองรับการขยายในอนาคตเผื่อไว้ คิดว่าคุ้มเมื่อแลกกับขั้นตอนที่เพิ่มเข้ามา กลับกลายเป็นว่าผู้บริหารไม่ได้คิดจะโตมากเกินไป แต่อยากให้ทำงานง่ายมีประสิทธิภาพกว่าเดิม พอเดาโจทย์ผิดก็เลยกลายเป็นระบบที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือไม่มีค่าสำหรับผู้บริหาร
ผู้ประกอบการอีกกลุ่มหนึ่ง ไม่ได้ต้องการประสิทธิภาพสูงสุด แต่ต้องการทำระบบที่บริหารจัดการได้ สามารถหาคนเข้ามาทำหน้าที่ตามขั้นตอนต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพิงความสามารถของใครคนใดคนหนึ่ง เป็นผู้บริหารให้ความสำคัญกับความยั่งยืนที่ไม่ยึดติดตัวบุคคล ทีมของเราแทบไม่เคยเจองานแบบนี้ หรืออาจเจอแล้วแต่ไม่เคยทำไปจนสุดทาง เพราะผู้ที่คิดใช้ระบบ ย่อมไม่พึ่งพาความสามารถของทีมวางระบบทีมใดทีมหนึ่ง หรือนี่คือความย้อนแย้ง เหมือนกับบอกว่าถ้าผู้วางระบบคิดเท่าทันผู้บริหาร แล้วยังจะเป็นผู้วางระบบได้นานเพียงใด
เมื่อต้องมาดูแลกิจการ 10x คราวนี้ ผมมีคำถามที่อยากค้นหาคำตอบ ตัวผู้ประกอบการมีเป้าหมายสั้นหรือยาวอย่างไร ต่อเติมให้รองรับการเติบโตตามสถานการณ์ เหมือนกับต่อเติมบ้านหลังเก่าขยายออกไปเรื่อย ๆ หรือมองเป้าหมายที่ใหญ่กว่านั้น อยากสร้างรากฐานใหม่ที่รองรับได้เพียงพอก่อน
ไม่เพียงกิจการที่เติบโต ทีมวางระบบเองก็ต้องโตให้ทัน หากคิดว่าความสัมพันธ์นี้เป็นความอยู่รอดที่ไม่เกี่ยวกัน ผมมีคำถามในใจว่า ในส่วนของทีมวางระบบควรเติบโตไปทางไหน งานระดับปฎิบัติงานก็จะใช้ทักษะแบบหนึ่ง หากคิดออกแบบระบบเพื่อบริหารก็จะต้องมีทักษะอีกแบบหนึ่ง การสร้างคนสร้างทีมไปคนละทางกัน
บางทีก็อดคิดไม่ได้ว่าสร้างทีมก็ไม่ต่างจากการสร้างกิจการ เมื่อยังเล็กคนน้อยมีงานไม่มากอาศัยความสามารถเฉพาะตัว แต่เมื่อเติบโตมีงานใหญ่จนล้นมือเริ่มไม่สนุก ต้องมีระบบที่ดีมาแทนที่ หาทางพึ่งพิงตัวบุคคลน้อยลง หากยังไม่วางระบบให้ตัวเองโตได้ แล้วจะวางระบบให้ผู้อื่นได้อย่างไร
เมื่อมองไปเบื้องหน้า เห็นการเติบโตรอคอยอยู่ บางทีก็อยากมีทางเลือกไม่เติบโตได้ ขออยู่ในโลกที่คุ้นเคยต่อไป จะเป็นไปได้ไหมที่มีทีมทำงานเล็ก ๆ กับอาณาเขตที่ชำนาญ หรือว่าถึงเวลาที่ต้องอำลาโลกของแพน แล้วเตรียมตัวรับมือกับการเติบโตที่ไม่อาจปฏิเสธ ก้าวข้ามกับดักไปสู่โลกที่กว้างใหญ่ ที่ไม่เหมือนเดิม
"Don't grow up" ผมจะเก็บไว้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับคนที่หวาดกลัวต่อการเติบโต
ผมมีเรื่องคิดมากมาย อยากคุยกับแพน การเติบโตเพื่อตัวเอง การเติบโตเพื่อผู้อื่น หรือไม่ควรเติบโต
เริ่มต้นปีใหม่นี้ ทีมวางระบบมีงานต้องดูแลกิจการที่โต 10x อีกครั้ง เป็นงานฉุกละหุกพอสมควร เพราะปริมาณงานเพิ่มขึ้นรวดเร็ว จนคนที่รับผิดชอบต้องทำให้ทันเพื่อเอาตัวรอดโดยไม่มีเวลาคิดถึงเรื่องอื่น
เรื่องนี้ผมมองแยกเป็นสองส่วน ตัวผู้ประกอบการเองที่เติบโต กับทีมวางระบบที่เป็นเหมือนผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ความพิเศษอยู่ระยะเวลาเตรียมตัวรับมือที่กระชั้นกว่าเคย ต้องเร่งทำงานด้วยอัตราเร็วมากกว่าปกติด้วย
เติบโตเร็วเป็นสถานการณ์พิเศษ ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกที่ การวางระบบเพื่อรองรับกิจการที่เติบโตเร็ว หมายถึงต้องเผื่อคาดเดาอนาคตมากกว่าปกติ ประเมินสรรพกำลังเพื่อเตรียมรับมือกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น
หากจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ร้านอาหารที่เริ่มต้นมีลูกค้าเฉลี่ยวันละ 100 ราย จู่ ๆ เดือนถัดมาเป็น 200 ราย และเดือนถัดมา 400 ราย มีเรื่องที่ต้องคิดคำนวณถึงเดือนข้างหน้าหรือสองเดือนหน้าอีกมากมาย ทั้งเจ้าของร้าน ผู้จัดการร้าน ทีมครัว ทีมบริการ คงไม่ใช่บอกให้ทุกคนสู้ ๆ เหนื่อยหน่อยนะ หาคนเพิ่มแล้วทำเหมือนตอนมีลูกค้า 100 รายโดยไม่เปลี่ยนวิธีรับมือ
เพราะเติบโตจึงต้องเปลี่ยนแปลง ระหว่างทางที่เปลี่ยนแปลงเต็มไปด้วยกับดัก
ด้วยประสบการณ์ที่ไม่เท่ากัน คนแต่ละคนย่อมมีจินตนาการยาวไกลไม่เท่ากัน แม้กระทั่งเมื่อทำให้เห็นเป้าหมายที่จุดนัดพบเดียวกันได้ วิธีการไปสู่เป้าหมายของแต่ละคนก็ยังต่างกัน วิธีวางระบบเพื่อเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นระบบในภาวะเติบโตจึงยาก ยากกว่าการเซ็ตระบบให้กับธุรกิจที่ค่อย ๆ เติบโต มีเวลาขยับปรับเปลี่ยนจนเข้าที่เข้าทาง
ความเร็วของการเดินทัพวัดกันที่คนสุดท้าย ถ้าระบบรองรับการเติบโตเร็วไม่ทัน ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรในมุมมองของผู้ประกอบการเราพอนึกภาพความวุ่นวายออก แต่ยังมีอีกมุมมองที่ไม่อาจละเลย คือการเตรียมทีมวางระบบเพื่อสถานการณ์พิเศษนี้
หากปัจจัยความสำเร็จทั้งหมดเป็นสิบส่วน สามส่วนอยู่ที่ความสามารถของโปรแกรมที่ใช้ อีกเจ็ดส่วนอยู่ที่กลยุทธของผู้วางระบบ ที่ต้องพยายามเท่าทันผู้บริหาร เพราะการเปลี่ยนผ่านจากกิจการเล็กให้เติบโตอย่างแข็งแรงเป็นการวางรากฐานระยะยาว ต้องเข้าใจวิธีคิดอย่างผู้บริหาร รู้หลักการบริหาร แล้ววางแผนแต่ละก้าวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความเข้าใจในภาพใหญ่ ผสานการใช้ข้อมูลประเมินผลตลอดเวลา
ที่ผ่านมาผมมีบทเรียนที่อาจจะเรียกว่าล้มเหลวในการวางระบบอยู่สองแบบ จบลงด้วยความเหนื่อยที่ลงแรงแล้วไม่ได้มรรคผลอะไรอย่างที่คาดหวัง เรียกว่า ทำมากแต่ได้น้อย
กับผู้ประกอบการบางแห่งที่น่าจะเติบโตได้มากกว่านี้ ทีมวางระบบพยายามออกแบบขั้นตอนการทำงานที่รองรับการขยายในอนาคตเผื่อไว้ คิดว่าคุ้มเมื่อแลกกับขั้นตอนที่เพิ่มเข้ามา กลับกลายเป็นว่าผู้บริหารไม่ได้คิดจะโตมากเกินไป แต่อยากให้ทำงานง่ายมีประสิทธิภาพกว่าเดิม พอเดาโจทย์ผิดก็เลยกลายเป็นระบบที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือไม่มีค่าสำหรับผู้บริหาร
ผู้ประกอบการอีกกลุ่มหนึ่ง ไม่ได้ต้องการประสิทธิภาพสูงสุด แต่ต้องการทำระบบที่บริหารจัดการได้ สามารถหาคนเข้ามาทำหน้าที่ตามขั้นตอนต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพิงความสามารถของใครคนใดคนหนึ่ง เป็นผู้บริหารให้ความสำคัญกับความยั่งยืนที่ไม่ยึดติดตัวบุคคล ทีมของเราแทบไม่เคยเจองานแบบนี้ หรืออาจเจอแล้วแต่ไม่เคยทำไปจนสุดทาง เพราะผู้ที่คิดใช้ระบบ ย่อมไม่พึ่งพาความสามารถของทีมวางระบบทีมใดทีมหนึ่ง หรือนี่คือความย้อนแย้ง เหมือนกับบอกว่าถ้าผู้วางระบบคิดเท่าทันผู้บริหาร แล้วยังจะเป็นผู้วางระบบได้นานเพียงใด
เมื่อต้องมาดูแลกิจการ 10x คราวนี้ ผมมีคำถามที่อยากค้นหาคำตอบ ตัวผู้ประกอบการมีเป้าหมายสั้นหรือยาวอย่างไร ต่อเติมให้รองรับการเติบโตตามสถานการณ์ เหมือนกับต่อเติมบ้านหลังเก่าขยายออกไปเรื่อย ๆ หรือมองเป้าหมายที่ใหญ่กว่านั้น อยากสร้างรากฐานใหม่ที่รองรับได้เพียงพอก่อน
ไม่เพียงกิจการที่เติบโต ทีมวางระบบเองก็ต้องโตให้ทัน หากคิดว่าความสัมพันธ์นี้เป็นความอยู่รอดที่ไม่เกี่ยวกัน ผมมีคำถามในใจว่า ในส่วนของทีมวางระบบควรเติบโตไปทางไหน งานระดับปฎิบัติงานก็จะใช้ทักษะแบบหนึ่ง หากคิดออกแบบระบบเพื่อบริหารก็จะต้องมีทักษะอีกแบบหนึ่ง การสร้างคนสร้างทีมไปคนละทางกัน
บางทีก็อดคิดไม่ได้ว่าสร้างทีมก็ไม่ต่างจากการสร้างกิจการ เมื่อยังเล็กคนน้อยมีงานไม่มากอาศัยความสามารถเฉพาะตัว แต่เมื่อเติบโตมีงานใหญ่จนล้นมือเริ่มไม่สนุก ต้องมีระบบที่ดีมาแทนที่ หาทางพึ่งพิงตัวบุคคลน้อยลง หากยังไม่วางระบบให้ตัวเองโตได้ แล้วจะวางระบบให้ผู้อื่นได้อย่างไร
เมื่อมองไปเบื้องหน้า เห็นการเติบโตรอคอยอยู่ บางทีก็อยากมีทางเลือกไม่เติบโตได้ ขออยู่ในโลกที่คุ้นเคยต่อไป จะเป็นไปได้ไหมที่มีทีมทำงานเล็ก ๆ กับอาณาเขตที่ชำนาญ หรือว่าถึงเวลาที่ต้องอำลาโลกของแพน แล้วเตรียมตัวรับมือกับการเติบโตที่ไม่อาจปฏิเสธ ก้าวข้ามกับดักไปสู่โลกที่กว้างใหญ่ ที่ไม่เหมือนเดิม
"Don't grow up" ผมจะเก็บไว้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับคนที่หวาดกลัวต่อการเติบโต
บทความที่เกี่ยวข้อง